หลักสูตรนักบริหารการทูต (นบท.) รุ่นที่ 6 ปี 2557

หลักสูตรนักบริหารการทูต (นบท.) รุ่นที่ 6 ปี 2557

วันที่นำเข้าข้อมูล 10 ก.พ. 2557

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 25 พ.ย. 2565

| 396 view

 

หลักสูตรนักบริหารการทูต (นบท.) รุ่นที่ ๖

 

จากกระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วของโลกปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้การแข่งขันระหว่างประเทศทวีความรุนแรงมากขึ้น พร้อม ๆ กับการขยายความร่วมมือระหว่างประเทศในทุกมิติ บทบาทและภารกิจของภาคส่วนต่าง ๆ ในการดำเนินงานด้านการต่างประเทศทั้งภาครัฐและเอกชนได้ปรับเปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญ นักบริหารการทูตและผู้บริหารในภาคส่วนอื่น ๆ ซึ่งทำหน้าที่ผู้แทนประเทศไทยในการดำเนินภารกิจด้านการต่างประเทศในเวทีต่าง ๆ จำเป็นต้องมีความรู้ที่ทันสมัย มีความเข้าใจและรู้เท่าทันต่อพลวัตรและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ ซึ่งล้วนมีความเชื่อมโยงระหว่างกันและไม่อาจพิจารณาโดยแยกส่วนได้                                                             การพัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างสมรรถนะที่จำเป็นในการดำเนินภารกิจในระดับสากลให้แก่ผู้แทนประเทศไทย จึงมีลักษณะเฉพาะและมีความสำคัญอย่างยิ่ง กระทรวงการต่างประเทศจึงได้จัดการฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารการทูตขึ้น เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความรู้และทักษะด้านต่าง ๆ ให้แก่นักการทูตที่จะไปดำรงตำแหน่งบริหารในต่างประเทศ และนักบริหารจากหน่วยงาน/องค์กรต่าง ๆ  ทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีมิติของงานด้านการต่างประเทศ ทั้งนี้ เพื่อที่จะร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายภาครัฐและยุทธศาสตร์ชาติด้านการต่างประเทศให้เกิดผลในทางปฏิบัติต่อไป

 

กลุ่มเป้าหมาย

  • ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศผู้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น หรือระดับสูง หรือ ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ หรือ เชี่ยวชาญ หรือ ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร/บริหารการทูตระดับต้น หรือ ระดับสูง  
  • บุคคลภายนอก ที่ได้รับการคัดเลือกและอนุมัติจากหน่วยงานต้นสังกัดให้เข้ารับการฝึกอบรม ประกอบด้วย
  • ข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการต้นหรือสูง หรือผู้ที่ดำรงตำแหน่งอื่นที่ปฏิบัติราชการเช่นเดียวกับประเภทอำนวยการ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด หรือเคยดำรงตำแหน่งข้างต้น  หรือข้าราชการเหล่าอื่นในระดับที่เทียบเท่า รวมถึงทหาร ตำรวจ อัยการ ตุลาการ และรัฐสภา
  • ข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารต้นหรือสูง หรือประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญขึ้นไป หรือข้าราชการเหล่าอื่น (ตามข้อ ๑)  หรือพนักงานของรัฐในระดับที่เทียบเท่า
  • ผู้บริหารระดับสูงของภาคเอกชน จากบริษัทข้ามชาติ บริษัทการบิน และธนาคาร/สถาบันการเงิน ฯลฯ มาเข้าร่วม เพื่อเป็นการสร้างเครือข่าย
ผู้เข้าร่วมอบรมชาวต่างประเทศ โดยเน้นกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน (พม่า,ลาว,กัมพูชา และเวียดนาม) ซึ่งมีความเข้าใจภาษาไทยในระดับหนึ่ง
ภาษาที่ใช้ในการอบรม ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ (บางวิชา)
ระยะเวลาการอบรม ระหว่างวันที่ ๒๒ พฤษภาคม – ๖ สิงหาคม ๒๕๕๗ (รวม ๑๑ สัปดาห์)                        โดยอบรมทุกวันทำการ
หมดเขตรับสมัคร ๒๒ เมษายน ๒๕๕๗
ค่าธรรมเนียม
การฝึกอบรม

คนละ  ๒๕๐,๐๐๐ บาท ประกอบด้วย

  • การฝึกอบรมภายในประเทศ (การบรรยาย/อภิปราย ศึกษาดูงาน) 
  • การศึกษาดูงานในต่างประเทศ


หมวดวิชาที่ ๑

การพัฒนากระบวนการทางความคิดของนักบริหารการทูต

๔ วิชา

๓๒ ชม.

หมวดวิชาที่ ๒

การพัฒนามุมมองในระดับสากล

๑๓ วิชา

๔๓ ชม.

หมวดวิชาที่ ๓

การพัฒนามุมมองภายในประเทศ

๘ วิชา

๔๔ ชม.

หมวดวิชาที่ ๔ : 

การสร้างเสริมและพัฒนาภาวะผู้นำในองค์กร

๑๑ วิชา

๓๓ ชม.

หมวดวิชาที่ ๕

การพัฒนาความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพด้านการทูต
การต่างประเทศ        

๘ วิชา

๓๙ ชม.

หมวดวิชาที่ ๖

การบริหารทรัพยากรอย่างมีประสิทธิผล

๔ วิชา

๒๔ ชม.

หมวดวิชาที่ ๗

การศึกษาเชิงนโยบายในมิติต่าง ๆ

 

๙๐ ชม.

หมวดวิชาที่ ๘

การเสริมสร้างประสบการณ์นักบริหารการทูต                                   

๕ วิชา

๙๕ ชม.

หมวดวิชาที่ ๙

สุนทรียศาสตร์กับการพัฒนาคุณภาพชีวิต

๔ วิชา

๑๔ ชม.

 

 

     รวม   

๔๑๔ ชม.

 

วิธีการฝึกอบรมจะเน้นหลักการเรียนรู้ที่เหมาะสำหรับผู้บริหาร โดยเป็นการเสริมความรู้ในเชิงปฏิบัติ และ
การแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างผู้บริหารที่มีความหลากหลายทั้งในแง่ประสบการณ์และเชิงวิชาชีพ นอกจากนี้
นักบริหารการทูตและนักบริหารที่เข้าร่วมการอบรม ยังสามารถกำหนดประเด็นหรือปัญหาจากประสบการณ์ในสายงานที่ตนสนใจเพื่อมาศึกษาด้วยตนเอง  ตลอดจนมีโอกาสไปศึกษาดูงานนอกสถานที่ในหน่วยงานภาคเอกชน
ส่วนราชการ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นการช่วยเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ภาคปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
วิธีการฝึกอบรม ใช้วิธีการต่าง ๆ อาทิ

  • การบรรยายโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ ที่สอดคล้องในแต่ละหัวข้อวิชา
    ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
  • การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์กับผู้ทรงคุณวุฒิและผู้มีประสบการณ์ /     
    นักบริหารที่ประสบความสำเร็จและเป็นที่ยอมรับ (Best Practice Learning)
  • การบรรยายพิเศษ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Executive Forum) ในวงการทูตและ
    การต่างประเทศ อาทิ เลขาธิการอาเซียน  เอกอัครราชทูตต่างประเทศประจำประเทศไทย
  • การอภิปรายกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างนักบริหาร
  • การฝึกฝนทักษะเฉพาะทางการทูตกับผู้เชี่ยวชาญในระดับสากล
  • การศึกษาดูงานในประเทศและต่างประเทศ
  • การเรียนรู้จากประสบการณ์จริง และพัฒนาทักษะการตัดสินใจเชิงนโยบาย (Action Learning)

ผู้เข้ารับการอบรมทุกท่านต้องจัดทำรายงานการศึกษาส่วนบุคคล (IS) และรายงานการศึกษาดูงาน
ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการวิชาการของหลักสูตร จึงจะถือว่าเป็นผู้สำเร็จการฝึกอบรม

 

 


            ผู้สนใจสมัครหลักสูตรนักบริหารการทูต (นบท.) รุ่นที่ ๖ สามารถกรอกใบสมัครออนไลน์ ได้ที่ www.mfa.go.th/dvifa โดยอัพโหลดหลักฐานประกอบการสมัคร ดังต่อไปนี้

  1. หนังสือนำส่งตัวผู้สมัครเข้ารับการอบรมจากหน่วยงานต้นสังกัด
  2. สำเนาบัตรข้าราชการ/เจ้าหน้าที่ของรัฐ/รัฐวิสาหกิจ หรือสำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
  3. สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
  4. โครงร่างรายงานการศึกษาส่วนบุคคล (แบบฟอร์มโครงร่างรายงานการศึกษาส่วนบุคคล)

หมดเขตรับสมัคร: ๒๒ เมษายน ๒๕๕๗

Contact

Chamaiporn Tantivess

นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการพิเศษ

E-Mail: [email protected]