6,050 view
ส่วนงานทุนและความร่วมมือ
 
                    สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการให้ความสำคัญกับการส่งเสริมองค์ความรู้ให้กับนักการทูตและบุคลากรของกระทรวงการต่างประเทศ ควบคู่กับการสร้างสัมพันธไมตรีและการกระชับความร่วมมือกับต่างประเทศ โดยส่วนงานทุนและความร่วมมือได้ดำเนินการผ่านกลไกสำคัญ 3 ด้าน คือ 
                    (1) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างสถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการกับสถาบันการต่างประเทศ สถาบันฝึกอบรมทางการทูต และสถาบันทางวิชาการของต่างประเทศ 
                    (2) หลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น 
                    (3) การเข้าร่วมประชุมในกรอบเวทีระหว่างประเทศ 
 
                            1. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือ (Memorandum of Understanding: MoU) ระหว่างสถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ สถาบันฝึกอบรมทางการทูต และสถาบันทางวิชาการของต่างประเทศ 
                                  สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการได้ลงนาม MoU กับสถาบันการต่างประเทศ สถาบันฝึกอบรมทางการทูต และสถาบันการทูตของต่างประเทศ จำนวน 10 แห่ง ได้แก่ 
                                   (1) Diplomacy Academy กระทรวงการต่างประเทศตุรกี 
                                   (2) Diplomatic Institute กระทรวงการต่างประเทศโปรตุเกส 
                                   (3) Diplomatic Academy กระทรวงการต่างประเทศคอซอวอ 
                                   (4) China Institute of International Studies (CIIS) สาธารณรัฐประชาชนจีน 
                                   (5) Hennadii Udovenko Diplomatic Academy of Ukraine กระทรวงการต่างประเทศยูเครน 
                                   (6) Foreign Service Institute (FSI) กระทรวงการต่างประเทศอินเดีย
                                   (7) Institute of Foreign Affairs (IFA) กระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
                                   (8) National Institute of Diplomacy and International Relations (NIDIR) กระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา
                                   (9) Diplomatic Academies/Training Institutions ประเทศสมาชิก BIMSTEC
                            (10) Hungarian Diplomatic Academy กระทรวงการต่างประเทศและการค้าฮังการี
                            (11) The Levan Mikeladze Diplomatic Training and Research Institute of the Ministry of Foreign Affairs of Georgia สถาบันฝึกอบรมทางการทูตและการวิจัย เลอวาน มิเคลาดเซ กระทรวงการต่างประเทศแห่งจอร์เจีย

                            ปัจจุบันอยู่ระหว่างพิจารณาจัดทำ MoU กับสถาบันการต่างประเทศ สถาบันฝึกอบรมทางการทูต และสถาบันการทูตของอีกหลายประเทศ โดยสาระสำคัญของ MoU เน้นเรื่อง (1) การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร (2) การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และข้อมูลในด้านที่เกี่ยวข้อง และ (3) การขยายเครือข่ายด้านบุคลากรและวิชาการ 
 
                            2. หลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น
                                   หลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นเป็นอีกกลไกสำคัญของความร่วมมือกับต่างประเทศ โดยสถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการจัดส่งข้าราชการไปเข้าร่วมในหลักสูตรฝึกอบรมที่สถาบันฝึกอบรมทางการทูตและสถาบันทางวิชาการของต่างประเทศจัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาทิ โครงการฝึกอบรม International Graduate Programme (IGP) ที่ออสเตรเลีย การฝึกอบรมหลักสูตร The Executive Seminar for young diplomats and officials from the ASEAN Member States ที่เยอรมนี หลักสูตร 1st Special Course for Diplomats from BIMSTEC Countries ที่อินเดีย ในขณะเดียวกัน สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการได้จัดและเสนอหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นให้แก่นักการทูตต่างประเทศเป็นประจำ 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตร Knowledge of Diplomacy (KOD) และหลักสูตร Diplomatic Training in International Affairs ซึ่งที่ผ่านมามีนักการทูตจากกลุ่มประเทศต่าง ๆ เข้าร่วม ได้แก่ กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน แอฟริกา ลาตินอเมริกา เอเชีย-แปซิฟิก 
 
                            3. การเข้าร่วมประชุมในกรอบเวทีต่างประเทศ
                                  ผู้บริหารสถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการได้เข้าร่วมประชุมในกรอบเวทีต่างประเทศเป็นประจำทุกปี เพื่อติดตามแนวทาง แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ และการนำนวัตกรรมมาใช้ในการฝึกอบรมและพัฒนานักการทูตให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในบริบทโลกในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ การประชุมประจำปี ได้แก่ Annual Meeting of Deans and Directors of Diplomatic Academies and Institute of International Relations (IFDT) และ Annual Meeting of Deans and Directors of Diplomatic Training Institutions of ASEAN+3 โดยประเด็นที่มีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและองค์ความรู้ระหว่างสถาบันฝึกอบรมทางการทูต อาทิ Diplomacy 4.0, Diplomacy in an Era of Discontinuity and Disruption, Diplomatic Training on the Content and Implementation of the 2030 Agenda for Sustainable Development, Diplomacy in the Asian Century เป็นต้น
                                  ทั้งนี้ ในปี 2566 สถาบันการต่างประเทศฯ มีกำหนดเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม 49th Annual Meeting of Deans and Directors of Diplomatic Academies and Institute of International Relations (IFDT) ที่กรุงเทพมหานคร
 
KOD MOU  
 
________________________