การดำเนินงาน

การดำเนินงาน

วันที่นำเข้าข้อมูล 23 ก.ย. 2562

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 28 พ.ย. 2565

| 232 view

การดำเนินงาน

สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ

“สู่ความเป็นเลิศทางการทูต”

           สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการเป็นสถาบันฝึกอบรมให้แก่บุคคลากรด้านการทูตของไทยเพื่อพัฒนาไปสู่ความเป็นเลิศทางการทูตในระดับสากล   สถาบันการต่างประเทศฯ ได้ให้บริการด้านวิชาความรู้และทักษะเฉพาะที่จำเป็นให้แก่บุคคลากรด้านการทูตของไทยเป็นหลัก และได้จัดอบรมเพิ่มเติมให้แก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐจากหน่วยงานต่างๆเพื่อให้สามารถดำรงบทบาทและปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกระดับจากระดับข้าราชการแรกเข้า จนถึงระดับผู้บริหาร ตลอดจน ได้มีการจัดหลักสูตรฝึกอบรมให้แก่นักการทูตของประเทศต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศไทยในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม  สถาบันการต่างประเทศฯ มุ่งมั่นที่จะดำเนินการให้วิสัยทัศน์ทางการทูตมีผลเป็นรูปธรรมและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาคมโลก 

สถาบันการต่างประเทศฯ ประกอบด้วย 5 ฝ่าย ดังนี้

           1. ฝ่ายฝึกอบรมและพัฒนา

           2. ศูนย์ภาษาต่างประเทศ

           3. ศูนย์มาตรฐานและประเมินผล

           4. ฝ่ายทุนและความร่วมมือระหว่างประเทศ

           5. ศูนย์ศึกษาและวิจัยการต่างประเทศ

หน่วยงานของสถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ

           สถาบันการต่างประเทศฯ ประกอบด้วยหน่วยงานย่อยต่างๆ เช่น ฝ่ายฝึกอบรมและพัฒนา ศูนย์มาตรฐานและประเมินผล ศูนย์ศึกษาและวิจัยการต่างประเทศ เป็นต้น ฝ่ายฝึกอบรมและพัฒนามีหน้าที่ออกแบบหลักสูตรและวิชาเพื่อสนองต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้นของกระทรวงการต่างประเทศและครอบคลุมสาระของการทูตสมัยใหม่ ที่เต็มไปด้วยพลวัตของความรู้และทักษะทางการทูต ฝ่ายฝึกอบรมและพัฒนาจึงจำเป็นต้องปรับปรุงหลักสูตรและวิชาให้ทันสมัยและเหมาะกับความต้องการของข้าราชการระดับต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยของกระทรวงการต่างประเทศ นอกจากนี้ฝ่ายฝึกอบรมและพัฒนาได้ให้โอกาสในการเรียนรู้แก่นักการทูตและเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ โดยการจัดหลักสูตรที่ออกแบบอย่างเหมาะสมอยู่เป็นประจำเพื่อให้มีเนื้อหาทั่วถึงทั้งในระดับภูมิภาคและเชื่อมต่อในระดับโลก สถาบันการต่างประเทศฯ มุ่งมั่นที่จะเพิ่มความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศ รวมถึงภาษาของประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน และภาษาทางการของสหประชาชาติ ซึ่งจะช่วยขยายมุมมองในระดับภูมิภาคและในระดับโลก ตลอดจนเพื่อสร้างขีดความสามารถในการวิเคราะห์ของนักการทูต   สถาบันการต่างประเทศฯ มีศูนย์มาตรฐานและประเมินผลเพื่อทำการทดสอดความรู้ภาษาอังกฤษของข้าราชการและผู้ที่ตั้งใจจะขอสมัครรับทุนการศึกษาเพื่อศึกษาต่อในต่างประเทศที่ให้ผ่านหน่วยงานของรัฐบาลไทย ศูนย์ศึกษาและวิจัยการต่างประเทศเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อกระตุ้นความคิดในสาขาการทูตและการต่างประเทศ

1. ฝ่ายฝึกอบรมและพัฒนา

           ฝ่ายฝึกอบรมและพัฒนามีหลักสูตรเพื่อพัฒนาขีดความสามารถหลักๆ ของเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศจำนวนมาก หลักสูตรและวิชาฝึกอบรมถูกออกแบบขึ้นตามวัตถุประสงค์โดยเฉพาะทำให้มีความแตกต่างกันในด้านเนื้อหาเพื่อให้เหมาะกับความต้องการเฉพาะด้านของเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศในระดับต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิชาที่เกี่ยวกับการบริหารสำหรับเอกอัครราชทูต กงสุลใหญ่ การพัฒนาด้านทักษะการเจรจาให้แก่นักการทูตระดับต่างๆ การฝึกอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนนักการทูตจะไปประจำการในต่างประเทศและฝึกอบรมให้แก่กลุ่มบุคคลที่จะเริ่มปฏิบัติหน้าที่เป็นข้าราชการของกระทรวงการต่างประเทศ ในปัจจุบัน ฝ่ายนี้ยังได้จัดหลักสูตรให้กับเจ้าหน้าที่ในภาครัฐที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการต่างประเทศและนโยบายต่างประเทศ

           การฝึกอบรมสำหรับข้าราชการการทูต

                      ระดับเอกอัครราชทูต

      -  วิชาการจัดการและจริยศาสตร์

      -  วิชาเสริมสร้างความรู้ให้ทันสมัยในด้านนโยบาย

      -  วิชาฝึกอบรมด้านสื่อมวลชน

      -  วิชาการสื่อสารสาธารณะ

      -  วิชาทักษะเฉพาะสำหรับผู้บริหาร

                      ระดับอัครราชทูตและกงสุลใหญ่

      -  วิชาการจัดการและจริยศาสตร์

      -  วิชาการบริหารงบประมาณในหน่วยงาน

      -  วิชาฝึกอบรมด้านสื่อมวลชน

      -  วิชาการสื่อสารสาธารณะ

      -  วิชางานกงสุล

                      ระดับอัครราชทูตที่ปรึกษา

      -  วิชาบริหารงานการต่างประเทศ

      -  วิชาผู้นำและการจัดการ

      -  วิชาทักษะการเจรจา

      -  วิชาการจัดการวิกฤตและการคิดแบบยุทธศาสตร์

      -  วิชาประเด็นโลก

      -  วิชาประเด็นที่เกี่ยวกับแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ

      -  วิชาการร่างนโยบาย

                      ระดับข้าราชการการทูตแรกเข้า

      -  วิชาทักษะทางการทูตพื้นฐาน

      -  วิชาประเด็นนโยบายสำคัญ

      -  วิชาอาเซียนกับกิจการระหว่างประเทศ

      -  วิชาการสื่อสารสาธารณะ

      -  วิชาภาษาต่างประเทศ

      -  วิชาการทูตและกฎหมายระหว่างประเทศ

      -  วิชาการร่างนโยบาย

      -  วิชาแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ

      -  วิชาวัฒนธรรมกับศาสนา

      -  วิชาการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงในสำนักงานในต่างจังหวัดและคณะทูตไทยในต่างประเทศ

                      ข้าราชการหน่วยงานรัฐบาลอื่นๆ

      -  วิชาสำหรับการออกประจำการในต่างประเทศสำหรับข้าราชการและคู่สมรส

      -  วิชาประชาคมอาเซียน

      -  วิชาการทูตพหุภาคี

      -  วิชาการทูตและกฎหมายระหว่างประเทศ

      -  วิชาพิธีการทูต

2. ศูนย์ภาษาต่างประเทศ

           ศูนย์ภาษาต่างประเทศของสถาบันการต่างประเทศฯ เป็นหน่วยงานที่ให้บริการด้านการเรียนรู้ภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาทักษะทางด้านภาษา ศูนย์ภาษาต่างประเทศจึงมีบทบาทในการช่วยเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันด้านภาษาของประเทศ ศูนย์ภาษาต่างประเทศมีหลักสูตรฝึกอบรมเกี่ยวกับทักษะด้านภาษาเพื่อบริการให้แก่ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศและเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานอื่นๆ ในการเพิ่มพูนความสามารถในการใช้ภาษาเป็นจำนวนมาก ศูนย์ภาษาต่างประเทศยังได้รับมอบหมายในการจัดวิชาเกี่ยวกับทักษะล่ามภาษาอังกฤษสำหรับบุคคลที่มีความสามารถในการเป็นล่ามในภาษาต่างๆ การฝึกอบรมที่สถาบันการต่างประเทศฯ ได้ให้บริการแก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในเวลานี้ประกอบด้วย

                       วิชาภาษาอังกฤษเฉพาะด้านสำหรับข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ

      -  การเขียนงานการทูตชั้นสูง

      -  ทักษะการนำเสนอต่อสาธารณชน

      -  ภาษาอังกฤษเพื่อเจ้าหน้าที่กระทรวงฯประเภทที่ประจำอยู่ในประเทศอย่างถาวร

      -  ภาษาอังกฤษเพื่อสังคมสำหรับนักการทูตและคู่สมรส

      -  ทักษะการเป็นล่าม

      -  ทักษะการสื่อสารถึงสาธารณชน

วิชาภาษาอังกฤษสำหรับข้าราชการอื่นๆ

      -  ภาษาอังกฤษแบบเข้มข้น

      -  ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

      -  ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในระดับสูง

      -  ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางยุทธศาสตร์ การฝึกอบรมสำหรับเจ้าหน้าที่ฝึกอบรบกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ

ภาษาต่างประเทศอื่นๆ

      -  ภาษาต่างประเทศก่อนการออกประจำการในต่างประเทศ

      -  ภาษาต่างประเทศที่สอง

3. ฝ่ายทุนและความร่วมมือระหว่างประเทศ

           ฝ่ายทุนและความร่วมมือระหว่างประเทศของสถาบันการต่างประเทศฯ เป็นหน่วยงานหลักใน การติดต่อกับองค์กรต่างประเทศ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ฝ่ายทุนและความร่วมมือระหว่างประเทศได้ขยายความร่วมมือกับสถาบันฝึกอบรมทางการทูตและสถาบันทางวิชาการทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง  ความร่วมมือเหล่านั้นอยู่ในรูปแบบของการแลกเปลี่ยนการเยือน โครงการฝึกอบรม และการประชุมระหว่างประเทศ ฝ่ายความร่วมมือระหว่างประเทศยังได้จัดทำหลักสูตรวิชาให้กับข้าราชการและนักการทูตต่างประเทศในวิชาต่างๆ

การฝึกอบรมให้กับนักการทูตต่างประเทศ

      -  กลุ่มนักการทูตจากประเทศเพื่อนบ้าน

      -  กลุ่มนักการทูตเอเชีย-แปซิฟิก

      -  กลุ่มนักการทูตแอฟริกา

ทุนสำหรับข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ

      -  ทุนที่ให้โดยสถาบันการต่างประเทศฯ และประเทศอื่นๆ

ความร่วมมือกับต่างประเทศ

      -  บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการฝึกอบรมทางการทูตกับสถาบันต่างๆ

      -  การประชุมประจำปีกับคณบดีและผู้อำนวยการของสถาบันฝึกอบรมด้านการทูตของประเทศต่างๆ

      -  การประชุมประจำปีกับคณบดีและผู้อำนวยการของสถาบันฝึกอบรมด้านการทูตของกลุ่มประเทศอาเซียน + 3

      -  การประชุมกับสหประชาชาติ

      -  การประชุมกับสถาบันวิจัยและฝึกอบรมแห่งสหประชาชาติ

      -  มูลนิธิเอเชีย-ยุโรป

ความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศและองค์กรเอกชนระหว่างประเทศ

      ฝ่ายความร่วมมือกับต่างประเทศได้ทำงานกับองค์กรต่างๆ เช่น สหประชาชาติ มูลนิธิเอเชีย-ยุโรป เป็นต้น

4. ศูนย์มาตรฐานและประเมินผล

           ศูนย์มาตรฐานและประเมินผลของสถาบันการต่างประเทศฯ ถูกตั้งขึ้นเพื่อวัดขีดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ โดยได้ทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในด้านการทดสอบภาษาที่ได้รับการยอมรับระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาแบบทดสอบภาษาอังกฤษ มีชื่อว่า DIFA TES โดยใช้มาตรฐานการวัดความรู้ของกรอบทางวิชาการของหน่วยงาน Common European Framework of Reference (CEFR) แบบทดสอบนี้มีเป้าหมายในการประเมินความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของผู้สมัครที่จะเข้ารับการทดสอบ ทั้งในด้านทักษะการอ่าน การฟัง การเขียน และการพูด ผลของแบบทดสอบนี้สามารถนำไปใช้ในการขอรับสมัครทุนและเพื่อพัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาชีพต่อไปได้

 วิชาสำหรับข้าราชการและเจ้าหน้าที่

      1. วิชาการอ่าน

      2. วิชาการฟัง

      3. วิชาการเขียน

      4. วิชาการพูด

 วิชาสำหรับนักการทูตและเจ้าหน้าที่กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ

      1. วิชาการอ่าน

      2. วิชาการฟัง

      3. วิชาการเขียน

      4. วิชาการพูด

 การทดสอบวัดระดับ

      1. วิชาการอ่าน

      2. วิชาการฟัง

5. ศูนย์ศึกษาและวิจัยการต่างประเทศ

           ศูนย์ศึกษาและวิจัยการต่างประเทศของสถาบันการต่างประเทศฯ เป็นหน่วยทางด้านวิชาการ ซึ่งจัดทำและรวบรวมองค์ความรู้จากผลงานทางด้านการต่างประเทศในรูปแบบต่างๆ เช่น คลิปเสียง ภาพ และบทเรียน เป็นต้น ศูนย์ศึกษาและวิจัยการต่างประเทศยังเป็นเวทีในการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้และความเชี่ยวชาญระหว่างเจ้าหน้าที่การทูตกับสาธารณชน ซึ่งรวมถึงกลุ่มที่มีส่วนได้ส่วนเสียในประเด็นสาธารณะ กลุ่มผู้แทน หรือกลุ่มที่เป็นกระบอกเสียงของหน่วยงานต่างๆ ที่มักต้องเกี่ยวข้องกับกิจการต่างประเทศ ศูนย์ศึกษาและวิจัยการต่างประเทศของสถาบันการต่างประเทศฯ ได้จัดสัมมนาและจัดทำโครงการร่วมกับสถาบันทางวิชาการและกลุ่มผู้นำทางความคิด ทั้งไทยและต่างประเทศอย่างเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่เกี่ยวกับการทูต ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และเรื่องที่อยู่ในความสนใจของสาธารณชนอื่นๆ ในฐานะผู้ให้บริการสาธารณะ  ศูนย์ศึกษาและวิจัยการต่างประเทศได้ให้บริการจัดทำโครงการฝึกอบรมที่หลากหลายเพื่อให้ตรงกับความต้องการของสาธารณชนและได้เปิดโอกาสให้สาธารณชนสามารถใช้ประโยชน์ในด้านสิ่งอำนวยความสะดวกของสถาบันการต่างประเทศ นอกจากนี้ ศูนย์ศึกษาและวิจัยการต่างประเทศยังได้จัดพิมพ์สิ่งตีพิมพ์ที่เกี่ยวกับความรู้ด้านการต่างประเทศและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วย

*************************************